วันเสาร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2562



ทองขึ้น!!! ทำไม SPDR ต้องซื้อทอง???
SPDR ซื้อทอง ทำให้ราคาทองขึ้น จริงหรือ???

SPDR ออกกองทุนETFs ชื่อว่า SPDR Gold Trust ซึ่งเป็นกองทุนที่มีนโยบายให้ผลตอบแทนกับนักลงทุนใกล้เคียงกับการลงทุนในทองคำจริง โดยหน่วยลงทุนใช้ชื่อว่า SPDR Gold Shares ตัวย่อ GLD ซื้อขายในตลาดนิวยอร์ค

การซื้อ-ขายทองคำของกองทุนSPDR เป็นเพียงการบริหารพอร์ตให้มูลค่าพอร์ตต่อ1หน่วยลงทุน(Net Asset Value per Share หรือ NAV per Share) ใกล้เคียงกับราคาGLD

เราจะยกตัวอย่างง่ายๆถึงหลักการทำงานของกองทุน

ตอนราคาทอง$1300 SPDR ออกETFs
สมมติว่า1,000,000หุ้น ราคา$130
มูลค่ากองทุน = $130 × 1,000,000 = 130,000,000$
กองทุนก็ไปซื้อทองที่ราคา $1,300 × 100,000ออนซ์

ต่อมาราคาทองคำขึ้นมา$1400

แต่ราคาหุ้นGLD ขึ้นไป$142
มูลค่าของกองทุนนี้จะเท่ากับ142,000,000$

ถ้ากองทุนไม่ซื้อขายเลย ทองในมือของกองทุน = $1,400 × 100,000ออนซ์ = 140,000,000$

ถามว่ากองทุนต้องทำยังไงให้มูลค่าทองคำในมือเท่ากับหรือใกล้เคียง142,000,000$

กองทุนก็ต้องซื้อทองที่ราคา$1400 อีก1,428ออนซ์ หรือประมาณ0.04ตัน 101,428 × $1,400 ~ 142,000,000$

แต่ถ้าราคาหุ้นGLD ขึ้นไป$145 กองทุนก็ต้องซื้อทองคำ เพิ่ม3,571ออนซ์ หรือประมาณ0.11ตัน

ถ้าราคาGLD ต่ำกว่า$140 SPDRก็ต้องขายทองคำเช่นเดียวกัน

จะเห็นได้ว่า ปัจจัยที่กำหนดให้กองทุนSPDRต้องไปซื้อหรือขายทองคำ คือ ราคาGLDที่ซื้อขายกัน ไม่ใช่"SPDRซื้อ ทองเลยขึ้น"ตามที่เข้าใจกัน

วันศุกร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ (USD/THB)

อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ (USD/THB)

    
      ปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญต่อราคาทองคำในประเทศไทย คือ อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ (USD/THB) เพราะตลาดทองคำโดยทั่วไปมักจะใช้เงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นสกุลเงินอ้างอิงในการซื้อขาย

      เมื่อเงินบาทอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ (USD/THB มีค่าเพิ่มขึ้น) จะทำให้ราคาทองคำในประเทศไทยสูงขึ้น(ปัจจัยอื่นคงที่)

     เมื่อเงินบาทแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ (USD/THB มีค่าลดลง) จะทำให้ราคาทองคำในประเทศไทยลดลง(ปัจจัยอื่นคงที่)

ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราแลกเปลี่ยน USD/THB

1. ปัจจัยภายนอกประเทศ สะท้อนในค่าของ Dollar Index ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ
- Dollar Index เพิ่มขึ้น => USD แข็งค่า => USD/THB เพิ่มขึ้น(เงินบาทอ่อน)
- Dollar Index ลดลง => USD อ่อนค่า => USD/THB ลดลง(เงินบาทแข็ง)

2. ปัจจัยภายในประเทศ

     2.1 นโยบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย (BOT)
- BOT ขึ้นดอกเบี้ย => เงินบาทแข็งค่า => USD/THB ลดลง
- BOT ลดดอกเบี้ย/ออกพันธบัตรรัฐบาล/ทำQE => เงินบาทอ่อนค่า => USD/THB เพิ่มขึ้น

     2.2 นโยบายการคลังของกระทรวงการคลัง รัฐบาล
- งบประมาณแบบเกินดุล/ขึ้นภาษี => เงินบาทแข็งค่า => USD/THB ลดลง
- งบประมาณแบบขาดดุล/ลดภาษี => เงินบาทอ่อนค่า => USD/THB เพิ่มขึ้น

     2.3 ตัวเลขเศรษฐกิจต่างๆ
- GDPสูงขึ้น/ส่งออกดีขึ้น/นำเข้าลดลง => เงินบาทแข็งค่า => USD/THB ลดลง
- GDPแย่ลง/ส่งออกแย่ลง/นำเข้ามากขึ้น => เงินบาทอ่อนค่า => USD/THB เพิ่มขึ้น

     2.4 เงินทุนไหลเข้ามาลงทุนในไทย/ตลาดหุ้น
- ต่างชาติเข้าลงทุนในไทย/ตลาดหุ้น มากขึ้น => เงินบาทแข็งค่า => USD/THB ลดลง
- ต่างชาติเข้าลงทุนในไทย /ตลาดหุ้น ลดลง => เงินบาทอ่อนค่า => USD/THB เพิ่มขึ้น

     2.5 ปัจจัยอื่นๆ เช่นความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ , การเข้าแทรกแซงของรัฐ , การปรับอัตราเงินสำรองตามกฏหมายของธนาคารพาณิชย์ , การปรับค่าแรงขั้นต่ำ ก็มีผลต่อค่าเงินบาทเช่นกัน

Cr. วิเคราะห์ราคาทองไทย

การกำหนดราคาทองคำของประเทศไทย


การกำหนดราคาทองคำของประเทศไทย

😊การกำหนดราคาทองของไทยนั้น ประกอบด้วยปัจจัยหลายอย่าง โดยมีคณะกรรมการควบคุมราคาทองของสมาคมคอยดูแลตลอดช่วงเวลาการซื้อขาย โดยยึดถือหลักประชาธิปไตยในการกำหนดราคาทองคำ ถือเสียงส่วนมาก 3 ใน 5 เสียงในการตัดสินใจ ซึ่งคณะกรรมการประกอบไปด้วยคณะกรรมการจาก

1.ห้างทองจินฮั้วเฮง
2.ห้างทองฮั่วเซ่งเฮง
3.ห้างทองเลี่ยงเส็งเฮงพาณิชย์
4.ห้างทองหลูชั้งฮวด
5.ห้างทองแต้จิบฮุย

😊ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม สำหรับในการกำหนดราคาทองของสมาคม จะอ้างอิงจากราคา Gold Spot บวกหรือลบค่า premium จากผู้ค้าทองในต่างประเทศ ( ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ว่าเป็นสภาวะการนำเข้า หรือการส่งออก ) แล้วจึงนำมาคำนวณกับค่าเงินบาท จากนั้น จะทำการแปลงหน่วยน้ำหนักจากหน่วย ounze ให้เป็นหน่วยน้ำหนักของไทย คือ บาท โดยการตัดสินใจประกาศราคาทองในประเทศแต่ละครั้งนั้น ทางสมาคมจะต้องพิจาราณาองค์ประกอบของ Demand และ Supply ทองคำภายในประเทศเป็นสำคัญด้วย

     ตัวแปรที่สำคัญในการกำหนดราคาทองของไทย สามารถสรุปได้ 4 ประการดังนี้

1. ราคาทองคำต่างประเทศ (Gold spot)
     เป็นราคาอ้างอิงทางอิเลกทรอนิกส์ ซึ่งยังไม่ได้มีการบวก หรือลบค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นจริงในการส่งมอบทองคำ เป็นการซื้อขายทองคำที่ไม่มีการส่งมอบ ซึ่งหากท่านพิจารณาดูราคา Gold spot จะเห็นว่ามีทั้งฝั่ง Bid และ Ask ซึ่งก็คือราคารับซื้อ และราคาขายออกนั้นเอง ในการซื้อทองคำจากต่างประเทศนั้น ผู้ขายจะใช้ราคา Ask ในการคำนวณ ส่วนเมื่อเราขายกลับไปยังผู้ค้าทองคำต่างประเทศ จะใช้ราคา Bid ในการคำนวณ ดังนั้นทางสมาคมเองก็เช่นกัน ในการกำหนดราคาทองภายในประเทศก็ต้องคำนึงถึงเรื่องดังกล่าวนี้ด้วย ว่าสภาวะตลาดทองคำภายในประเทศเป็นเช่นไร เช่นมีความต้องการซื้อทองคำอย่างมากก็ต้องนำเข้าทองคำ หรือหากมีความต้องการขายทองคำจำนวนมากก็ต้องส่งออกเป็นต้น

2. อัตราค่า Premium ( ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในการนำเข้า/ส่งออกทองคำ )

     เมื่อมีความต้องการซื้อทองคำจำนวนมากจากผู้สนใจลงทุนในทองคำ และปริมาณทองคำภายในประเทศมีไม่เพียงพอ ร้านค้าทองจึงจำเป็นต้องอาศัยการนำเข้าทองคำจากต่างประเทศ ซึ่งก็คือการซื้อจากผู้นำเข้า ซึ่งผู้นำเข้าก็ต้องซื้อต่ออีกทอดหนึ่งจากผู้ค้าในต่างประเทศ โดยจะมีการคิดค่า Premium
ค่า Premium ก็คือค่าใช้จ่ายต่างๆ เพื่อที่นำเข้า หรือส่งออกทองคำ รวมถึงค่าขนส่ง ค่าความเสี่ยง ดอกเบี้ยธนาคาร ค่าประกันภัยต่างๆ ซึ่งถูกกำหนดมาโดยผู้ค้าทองในต่างประเทศ ซึ่งเรียกง่ายๆว่าเป็นต้นทุนในการนำเข้าทองคำจากต่างประเทศเข้ามาขายผู้บริโภคในไทยนั้นเอง โดยในการคำนวนจะนำราคา Spot บวกค่า Premium ดังกล่าวนี้เข้าไปด้วย ซึ่งในทางกลับกัน เมื่อมีประชาชนมาขายทองคำแท่ง คืนให้กับร้านทองจำนวนมากๆ ร้านทองจำเป็นต้องทำการขายกลับคืนมาให้กับบริษัทผู้นำเข้า และผู้นำเข้าก็จะทำการขายคืนกลับไปให้กับผู้ค้าทองในต่างประเทศอีกทอดนึง ซึ่งในจุดนี้ต่างประเทศจะใช้ราคา Spot ฝั่ง BID และหักลบค่าใช้จ่าย Premium ซึ่งในฝั่งขายออกนี้จะเรียกว่า Discount สำหรับสภาวะปกติค่า premium หรือ discount จะอยู่ที่ +1 ถึง 2 เหรียญต่อออนซ์ แต่ในสภาวะวิกฤตดังเช่นปัจจุบัน จากการที่ราคาทองคำในต่างประเทศลดลงอย่างมาก และรวดเร็วในระยะเวลาอันสั้น ทำให้มีความต้องการซื้อทองคำจากทุกประเทศในโลกพร้อมๆกัน ทำให้มี Demand ในโลกมาก เกิดการแย่งซื้อ ส่งผลให้มีการปรับขึ้นลงค่า premium และ discount จากผู้ค้าในต่างประเทศอย่างรวดเร็วและรุนแรงมากเช่นกัน โดยอยู่ที่ช่วง +10 ถึง 20 เหรียญต่อออนซ์ และในบางครั้งสูงถึง +25 เหรียญต่อออนซ์ด้วย อย่างเช่นในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งไม่เคยปรากฏมาก่อน

3. ค่าเงินบาทต่อดอลล่าสหรัฐ

     ค่าเงินบาทในการคำนวณราคาทองในประเทศ จะใช้อัตราการโอนเงินระหว่างประเทศ ซึ่งมีการเปลี่ยนกันอยู่ตลอดเวลา เช่นเดียวกัน gold spot และมีการใช้ราคาในฝั่ง Bid และ Ask เช่นเดียวกัน สำหรับในสภาวะวิกฤตของสถาบันการเงินเช่นปัจจุบัน แต่ละธนาคารก็จะบวกค่าความเสี่ยงเข้าไปด้วยเช่นกัน

4. Demand และ Supply ภายในประเทศ

     คณะกรรมการควบคุมราคาทองของสมาคม นอกจากจะพิจารณาราคา Gold Spot / ค่า Premium และค่าเงินบาท ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาแล้ว ยังต้องคำนึงถึงปัจจัย Demand / Supply ภายในประเทศด้วยเป็นหลัก เพื่อที่จะตัดสินใจประกาศราคาทองคำภายในประเทศ ณ ช่วงเวลานั้นๆ โดยคณะกรรมการกำหนดราคาทั้ง 5 ท่าน จะพิจารณาจากปริมาณ และราคาจากการซื้อขายระหว่าง

4.1 ผู้นำเข้าหรือผู้ส่งออกทองคำ
4.2 ร้านค้าทองเยาวราช
4.3 ร้านค้าส่งทองคำ
4.4 ร้านค้าปลีกทองคำ
4.5 ผู้ลงทุนทองคำรายใหญ่
4.6 ผู้ลงทุนทองคำรายย่อย

      กล่าวคือ มิใช่ว่าร้านทองจะซื้อขายกับประชาชนผู้สนใจลงทุนในทองคำเพียงฝ่ายเดียว ตามที่ผู้ลงทุนทั่วไปเข้าใจ เป็นความเข้าใจที่ผิด ทุกภาคส่วนล้วนมีการซื้อและขายทองคำด้วยกันเองตลอดเวลาด้วย และการซื้อขายของร้านค้าทองด้วยกันเองนั้นจะมีปริมาณที่มากกว่าการซื้อขายกับผู้ลงทุนทั่วไปหลายสิบเท่า เพราะฉะนั้นถ้าหากว่าสมาคมประกาศราคาทองคำสูงหรือต่ำกว่าความเป็นจริงจากตลาดต่างประเทศมากไป ร้านทองด้วยกันเองจะมีการวิ่งเข้าหาซื้อ หรือเทขายกันเอง ส่งผลให้สมาคมต้องปรับราคาให้เหมาะสมในที่สุด เพื่อสะท้อนถึงความต้องการทองคำของตลาดตามความเป็นจริง ตามกฎของ Demand / Supply กลไกของตลาดดำเนินการไปด้วยตัวของมันเอง เช่น หากราคาทองของสมาคมประกาศต่ำกว่าตลาดโลกมาก ก็จะมีกลุ่มผู้ตระเวนซื้อทองรูปพรรณเก่าตามร้านทองทั่วประเทศ และขายทองให้ผู้ส่งออกต่างประเทศได้ส่วนต่างผลกำไรโดยตรง โดยไม่ผ่านร้านทองทำให้ร้านทองเสียรายได้ส่วนนี้ไปอย่างเห็นได้ชัด หรือหากมีการกำหนดราคาที่สูงกว่าราคาตลาดโลกมาก ก็จะมีผู้นำเข้าทองนำทองมาขายให้ร้านทองโดยทันทีเช่นกัน เนื่องจากได้กำไรจากส่วนต่างที่มากนั้นจูงใจ

     ดังนั้น การที่ผู้สนใจลงทุนในทองคำดูราคา Gold spot จาก Website ต่างประเทศ แล้วนำมาคำนวณตามสูตรตรงๆ ก็จะได้ราคาที่ไม่สะท้อนความเป็นจริงในการซื้อขายที่มีการส่งมอบทองจริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาวะเหตุการณ์ที่ไม่ปกติอย่างเช่นในปัจจุบัน ทั้งนี้ หากพิจารณาข้อมูลที่นำเสนอข้างต้น จะเห็นว่าตลาดค้าทองคำของไทยนั้น เป็นตลาดที่มีการแข่งขันอย่างสมบูรณ์ และสามารถดำเนินไปด้วยกลไกตลาดอย่างแท้จริง

เวลาเปิด-ปิด ตลาดซื้อขายทองคำ

ตลาดซื้อขายทองคำที่สำคัญๆของโลกมีหลายแห่ง ซึ่งเวลาเปิด-ปิด ของแต่ละตลาด แต่ละภูมิภาค คาบเกี่ยวกัน ทำให้เราสามารถเทรดได้ตลอด 24 ชม. ปริมาณการซื้อขายแต่ละตลาดก็แตกต่างกัน ดังนั้นเราจึงต้องรู้ช่วงเวลาทำการของตลาดที่สำคัญๆ เพื่อการวางแผนในการเทรด ทางเพจได้รวบรวมเป็นตารางเวลาให้สามารถดูได้ง่ายๆ ดังนี้

HUI คืออะไร



!!!หลายคนสงสัยว่า HUI คืออะไร???

HUI หรือ ดัชนี Gold BUGS index หรือชื่อเต็มคือ The NYSE Arca Gold BUGS index (Basket of Unhedged Gold Stocks) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า HUI Index นั่นเอง

ดัชนี Gold Bug index คือดัชนีของบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการทำเหมืองแร่ทองคำ โดยดัชนีแสดงให้เห็นถึงการเคลื่อนไหวของหุ้นเหมืองทอง 15 บริษัท ซึ่งเป็นบริษัทเหมืองทองคำที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐ (มีการจัดสรรสัดส่วนน้ำหนักการลงทุนหุ้นใน 15 บริษัทเหมืองให้เท่ากันทุกตัว) จดทะเบียนในตลาดหุ้น New York หรือ NYSE Amex ภายใต้สัญลักษณ์ “HUI”

Gold BUGS Index สะท้อนถึง มุมมองการคาดการณ์ผลประกอบการของอุตสาหกรรมเหมืองทอง ซึ่งมีความสัมพันธ์สูงกับการเคลื่อนไหวของราคาทองในตลาดโลก ทั้งนี้ นักลงทุนสามารถคาดการณ์ราคาทองคำในระยะสั้นได้ จากการเคลื่อนไหวของGold BUGS Index ยกตัวอย่างเช่น หากราคาหุ้นของบริษัทที่ทำธุรกิจเหมืองทองคำปรับตัวลง ซึ่งมาจากผลประกอบการที่แย่ลง อาจแปลความหมายได้ว่าตลาดทองคำช่วงนั้นอาจอยู่ในภาวะซบเซา หรือมีแนวโน้มที่จะเป็นขาลง โดยดัชนี HUI Index จะเป็นดัชนีที่นักลงทุนควรจะให้ความสำคัญควบคู่กับ Dollar Index

***HUI ไม่ใช่กองทุน ไม่มีซื้อ/ขาย มีแต่บวก/ลบ***
โดยปกติถ้าราคาทองขึ้น HUI ก็น่าจะเป็นบวก ถ้าราคาทองลง HUI ก็น่าจะต้องลบ เพราะราคาทองก็คือรายได้ของเหมือง คล้ายๆกับเวลาที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกลงดัชนีหุ้นกลุ่มพลังงานก็จะติดลบ

Cr. Investment Insights : ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
เรียบเรียงใหม่โดย fb วิเคราะห์ราคาทองไทย

Dollar Index


Dollar Index

นับเป็นเครื่องมือสำคัญทางการเงินอันหนึ่งที่ มักจะเป็นตัวบ่งบอกถึงแนวโน้มการลงทุน หรือกระแสเงินลงทุนที่จะเคลื่อนที่ไปมาระหว่างสินทรัพย์ต่างๆ ซึ่งจะเห็นได้ว่า ณ ปัจจุบันนักวิเคราะห์ทั่วโลก ต่างหยิบยกถึงแนวโน้มการอ่อนค่าของเงินสกุลดอลลาร์มาเป็นตัวกำหนดกลยุทธ์ การลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ อย่างที่เราเห็นกันในวันนี้อย่างมากมาย

Dollar Index คือ ดัชนีที่วัดมูลค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐ ในระบบตระกร้าเงินที่เป็นการเฉลี่ยน้ำหนักเงินสกุลต่างๆ 6สกุลหลัก ได้แก่
• Euro (EUR), 57.6% weight
• Japanese yen (JPY), 13.6% weight
• Pound sterling (GBP), 11.9% weight
• Canadian dollar (CAD), 9.1% weight
• Swedish krona (SEK), 4.2% weight and
• Swiss franc (CHF) 3.6% weight.


ดัชนีนี้ ได้มีการเริ่มต้นคำนวณมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1973 ที่ดัชนี 100 ซึ่งเคยปรับตัวขึ้นสูงสุดราว 160 และต่ำสุดที่ 70.698 ในวันที่ 16 มี.ค. 2008

Dollar Index เพิ่มขึ้น กำลังบอกว่าค่าเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่า ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐแข็งแกร่ง ส่งผลลบต่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์

Dollar Index ลดลง กำลังบอกว่าค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่า และสะท้อนไปที่ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐอ่อนแอ ส่งผลบวกต่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์

ความสัมพันธ์กับทิศทางDowjonesนั้นขึ้นกับการให้สำคัญต่อภาวะเศรษฐกิจและตลาดหุ้นในช่วงนั้นๆ แต่ส่วนใหญ่เมื่อDollar Indexเพิ่มขึ้นจะส่งผลต่อทิศทางDowjonesเชิงบวก คล้ายคลึงกับตลาดหุ้นไทยและทั่วโลกที่เมื่อค่าเงินแข็งขึ้น จะตีความว่าเม็ดเงินไหลเข้าตลาดหุ้น แต่หากปัจจัยการลงทุนหรือเศรษฐกิจเปลี่ยนไป ในบางครั้งทิศทางอาจไม่สัมพันธ์กันได้

Cr.investorchart.com