วันศุกร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ (USD/THB)

อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ (USD/THB)

    
      ปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญต่อราคาทองคำในประเทศไทย คือ อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ (USD/THB) เพราะตลาดทองคำโดยทั่วไปมักจะใช้เงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นสกุลเงินอ้างอิงในการซื้อขาย

      เมื่อเงินบาทอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ (USD/THB มีค่าเพิ่มขึ้น) จะทำให้ราคาทองคำในประเทศไทยสูงขึ้น(ปัจจัยอื่นคงที่)

     เมื่อเงินบาทแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ (USD/THB มีค่าลดลง) จะทำให้ราคาทองคำในประเทศไทยลดลง(ปัจจัยอื่นคงที่)

ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราแลกเปลี่ยน USD/THB

1. ปัจจัยภายนอกประเทศ สะท้อนในค่าของ Dollar Index ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ
- Dollar Index เพิ่มขึ้น => USD แข็งค่า => USD/THB เพิ่มขึ้น(เงินบาทอ่อน)
- Dollar Index ลดลง => USD อ่อนค่า => USD/THB ลดลง(เงินบาทแข็ง)

2. ปัจจัยภายในประเทศ

     2.1 นโยบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย (BOT)
- BOT ขึ้นดอกเบี้ย => เงินบาทแข็งค่า => USD/THB ลดลง
- BOT ลดดอกเบี้ย/ออกพันธบัตรรัฐบาล/ทำQE => เงินบาทอ่อนค่า => USD/THB เพิ่มขึ้น

     2.2 นโยบายการคลังของกระทรวงการคลัง รัฐบาล
- งบประมาณแบบเกินดุล/ขึ้นภาษี => เงินบาทแข็งค่า => USD/THB ลดลง
- งบประมาณแบบขาดดุล/ลดภาษี => เงินบาทอ่อนค่า => USD/THB เพิ่มขึ้น

     2.3 ตัวเลขเศรษฐกิจต่างๆ
- GDPสูงขึ้น/ส่งออกดีขึ้น/นำเข้าลดลง => เงินบาทแข็งค่า => USD/THB ลดลง
- GDPแย่ลง/ส่งออกแย่ลง/นำเข้ามากขึ้น => เงินบาทอ่อนค่า => USD/THB เพิ่มขึ้น

     2.4 เงินทุนไหลเข้ามาลงทุนในไทย/ตลาดหุ้น
- ต่างชาติเข้าลงทุนในไทย/ตลาดหุ้น มากขึ้น => เงินบาทแข็งค่า => USD/THB ลดลง
- ต่างชาติเข้าลงทุนในไทย /ตลาดหุ้น ลดลง => เงินบาทอ่อนค่า => USD/THB เพิ่มขึ้น

     2.5 ปัจจัยอื่นๆ เช่นความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ , การเข้าแทรกแซงของรัฐ , การปรับอัตราเงินสำรองตามกฏหมายของธนาคารพาณิชย์ , การปรับค่าแรงขั้นต่ำ ก็มีผลต่อค่าเงินบาทเช่นกัน

Cr. วิเคราะห์ราคาทองไทย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น